Omnichannel Protollcall 2025

ศูนย์บริการลูกค้าแบบ Omnichannel: คู่มือฉบับสมบูรณ์ ปี 2025

ในยุคที่การสื่อสารได้ผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้าพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การให้บริการลูกค้าได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปเป็นอย่างมาก จากศูนย์บริการลูกค้าแบบคอลเซ็นเตอร์ มาเป็นศูนย์บริการลูกค้าแบบ Omnichannel และได้กลายเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience: EX) ที่ราบรื่นและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ในบทความนี้ เราจะสำรวจกลยุทธ์ Omnichannel อย่างละเอียด และวิธีการนำไปใช้ในศูนย์บริการลูกค้าในปี 2025

ความหมายของศูนย์บริการลูกค้าแบบ Omnichannel

ศูนย์บริการลูกค้าแบบ Omnichannel คือการรวมช่องทางการสื่อสารทั้งหมด เช่น โทรศัพท์ อีเมล แชท โซเชียลมีเดีย เข้าด้วยกัน เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ช่องทางต่างๆที่พวกเขาคุ้นเคยในการติดต่อกับศูนย์คอลเซ็นเตอร์ และสามารถสลับระหว่างช่องทางต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น โดยไม่ต้องอธิบายปัญหาซ้ำ ๆ และให้ประสบการณ์ที่ดีสอดคล้องกันในทุกช่องทาง

Omnichannel และ Multichannel ต่างกันอย่างไร?

คุณอาจจะเคยได้ยินว่า การให้บริการลูกค้าหลายช่องทาง หรือ Multichannel แล้วมันแตกต่างจาก การให้บริการแบบ Omnichannel อย่างไร?

Multichannel เป็นการให้บริการหลากหลายช่องทาง ตามที่ผู้ให้บริการสินค้าจะนำเสนอไม่ว่าจะเป็น ทางโทรศัพท์ อีเมล โซเชียลมีเดีย หรือแชท มีทีมที่รับผิดชอบที่แบ่งหน้าที่กัน แต่ละช่องทางไม่สามารถเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นเวลาที่ลูกค้าติดต่อมาทางช่องหนึ่ง และย้ายไปอีกช่องทางหนึ่ง จะต้องเริ่มต้นเล่าเรื่องใหม่เสมอ

ในทางกลับกัน Omnichannel เป็นการให้บริการลูกค้าแบบรวมช่องทางการสื่อสารของผู้ให้บริการสินค้าทั้งหมดไว้เป็นหนึ่งเดียว ทำให้ลูกค้าไม่ต้องปวดหัวกับการเล่าเรื่องซ้ำไปมา เมื่อต้องติดต่อช่องทางใหม่ทุกครั้ง

องค์ประกอบสำคัญของศูนย์บริการลูกค้าแบบ Omnichannel

ไม่เพียงแต่การให้บริการช่องทางที่หลากหลายเท่านั้น ศูนย์บริการลูกค้าแบบ Omnichannel จะต้องมีฟังก์ชั่นพื้นฐานที่สำคัญหลายอย่างเพื่อให้การให้บริการมีประสิทธิภาพ ดังเช่น

  1. ระบบคลาวด์ที่ครบวงจร (Cloud Contact Center): โซลูชันศูนย์คอลเซ็นเตอร์บนระบบคลาวด์ มีความยืดหยุ่นสูง ปรับเพิ่ม-ลดขนาดได้ มีความเสถียรและเชื่อถือได้ ผู้ให้บริการระบบคลาวด์มีการดูแล อัพเดทโปรแกรมต่างๆอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังง่ายในการบริหารจัดการพนักงานแบบ Work From Home หรือ Hybrid Work และมีช่องทางการติดต่อที่หลากหลายช่วยให้การติดต่อง่ายขึ้น ช่วยให้การจัดการระบบการให้บริการลูกค้ามีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. ระบบจัดการช่องทางการติดต่อแบบหนึ่งเดียว (Integrated Contact Channel System): ทุกวันนี้ ลูกค้าติดต่อมายังศูนย์คอนแทคเซ็นเตอร์ ไม่ได้มีแค่ช่องทางโทรศัพท์อย่างเดียว ลูกค้าสามารถติดต่อมาได้ทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ อีเมล โซเชียลมีเดีย หรือแชท และคาดหวังว่าว่าการติดต่อในทุกช่องทางของพวกเขาจะราบรื่น ระบบจัดการช่องทางการติดต่อของลูกค้า จะช่วยเก็บข้อมูลการติดต่อที่ไว้ในที่เดียว ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อมาจากช่องทางไหน พนักงานก็สามารถติดตามประวัติและข้อมูลของลูกค้าได้
  3. ระบบข้อมูลลูกค้าเชิงลึก (CRM and Knowledge Base System): การให้บริการแบบเฉพาะบุคคล จำเป็นต้องมีระบบสำหรับเก็บข้อมูลต่างๆของลูกค้าและระบบองค์ความรู้เพื่อให้พนักงานนำมาโต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันได้มีการนำ chatbot เข้ามาช่วยในการตอบรับลูกค้า เพื่อให้บริการคำตอบที่รวดเร็ว แต่สำหรับการให้บริการข้อมูลเชิงลึกเหมาะสำหรับเพิ่มประสบการณ์ส่วนตัวของลูกค้า ทำให้เกิดความประทับใจและรู้สึกเป็นคนพิเศษ
  4. ระบบจัดการสายอัจฉริยะ (Intelligent routing): ความคาดหวังของลูกค้าที่จะได้รับบริการอย่างรวดเร็ว และได้รับการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันใจ มีส่วนช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า ระบบจัดการสายและระบบจัดการคิวจะช่วยส่งสายลูกค้าให้พบกับพนักงานที่มีทักษะเหมาะสมในการตอบคำถาม หรือแก้ไขปัญหา และสามารถเพิ่มเปอร์เซ็นต์การแก้ปัญหาในครั้งแรก (First Contact Resolution: FCR) ได้ด้วย
  5. ระบบ Automation: การให้บริการตัวเอง (Self Service): ในการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งลูกค้าสามารถทำเองได้ ด้วยระบบ IVR (Interactive Voice Response) หรือจะให้ chatbot ให้บริการตอบคำถามพื้นฐานง่ายๆ ทั้งยังสามารถส่งสายไปยังเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมได้ทันทีที่ลูกค้าต้องการ ช่วยลดเวลาการรอสายของลูกค้า
  1. ระบบวิเคราะห์รายงาน (Analytics and reporting): แดชบอร์ดแสดงข้อมูลแบบเรียลไทม์และข้อมูลแบบ Historical ช่วยในการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณการติดต่อของลูกค้าในแต่ละช่องทาง แดชบอร์ดยังสามารถแสดงประสิทธิภาพการรับสายของพนักงาน เช่น เวลาตอบสนองเฉลี่ย หรือเวลาต่อการแก้ไขปัญหา ได้ในหน้าจอเดียว ช่วยให้ผู้บริหารศูนย์คอนแทคเซ็นเตอร์เห็นภาพรวมแบบเรียลไทม์ สามารถปรับแผนเพื่อรับมือเหตุการณ์ได้ตลอดเวลา ทั้งยังช่วยวางแผนในการจัดตารางเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ (Train Agent for Omnichannel Support): แม้ว่าจะมีเครื่องมือที่ทันสมัยหลากหลายมาช่วยจัดการงานในศูนย์คอนแทคเซ็นเตอร์ แต่หัวใจยังคงอยู่ที่การให้บริการของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก การอบรมทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ และการใช้เครื่องมือที่ในศูนย์คอนแทคเซ็นเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิผล เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในการส่งต่อประสบการลูกค้าในทุกช่องทางแบบไร้รอยต่อ

ประโยชน์ของศูนย์บริการลูกค้าแบบ Omnichannel

  • ประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้น: ลูกค้ามากกว่า 50% ชอบที่จะติดต่อกับผู้ให้บริการในหลากหลายช่องทางขึ้นอยู่กับความสะดวกในการติดต่อในขณะนั้น และชอบที่จะสามารถสลับระหว่างช่องทางได้อย่างราบรื่น
  • การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า: การตอบสนองที่รวดเร็วและสอดคล้องกัน โดยไม่ได้สนใจว่าลูกค้าติดต่อมาจากช่องทางไหน มีส่วนช่วยเพิ่มความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้า
  • ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น: ระบบจัดการช่องทางและระบบข้อมูลลูกค้า สามารถช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงข้อมูลการซื้อสินค้าและประวัติการสื่อสารของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้บริการแบบเฉพาะบุคคลได้มากขึ้น

ความท้าทายในการดำเนินกลยุทธ์ Omnichannel ในศูนย์คอนแทคเซ็นเตอร์

  • ความยากในการรวมเป็นหนึ่งเดียวของช่องทางต่างๆ: แม้ว่าศูนย์คอนแทคเซ็นเตอร์หลายๆศูนย์ สามารถให้บริการช่องทางต่างๆได้ แต่การผสานรวมข้อมูลจากช่องทางต่างๆไว้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อส่งมอบประสบการณ์ลูกค้าที่ไร้รอยต่อ เป็นเรื่องยากและท้าทาย
  • การรักษามาตรฐานของความปลอดภัยข้อมูล: ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เพียงแต่เป็นภัยในเรื่องเงินเท่านั้น ยังทำให้ลูกค้าไม่ไว้วางใจอีกด้วย ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะมองหาผู้ให้บริการรายใหม่ทันทีที่รู้สึกว่าข้อมูลไม่ปลอดภัย ดังนั้นการมีนโยบายการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เข้มแข็ง และการปกป้องข้อมูลลูกค้าในทุกช่องทางเป็นเรื่องสำคัญ
  • การรับมือกับความคาดหวังของลูกค้า: ลูกค้ามีความคาดหวังที่สูงขึ้นในการได้รับบริการที่รวดเร็วและสอดคล้องกันในทุกช่องทาง ดังนั้นศูนย์คอนแทคเซ็นเตอร์จำเป็นต้องหาเครื่องมือที่จะช่วยให้ทั้งทีมทำงานง่าย รวดเร็ว และตอบเสนองกับความคาดหวังของลูกค้าไปได้ด้วยพร้อมกัน

แนวโน้มของศูนย์บริการลูกค้าในปี 2025

  • การย้ายไปยังระบบคลาวด์: แนวโน้มของศูนย์บริการคอนแทคเซ็นเตอร์จะย้ายไปอยู่ระบบคลาวด์มากขึ้น เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับขนาดที่ง่ายขึ้น ความสะดวกสบายที่สามารถใช้งานได้จากทุกที่ รวมถึงมีฟังก์ชั้นครบถ้วนหลากหลาย สามารถจัดการการทำงานแบบ Hybrid หรือ Work From Home ได้ดี
  • การใช้ระบบอัตโนมัติและการส่งสายแบบอัจฉริยะ: การใช้ระบบอัตโนมัติเช่น IVR จะมีบทบาทมากขึ้น และมีความฉลาดขึ้น ช่วยลดการภาระการตอบคำถามซ้ำๆ หรือการจัดการธุรกรรมง่ายๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีเวลาโต้ตอบกับลูกค้าที่มีปัญหาเชิงลึก รวมถึงระบบจัดการคิวและจัดการสายที่มีคุณภาพจะช่วยส่งสายลูกค้าไปยังเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะเหมาะสม
  • การใช้ระบบโทรออกอัตโนมัติ:  ระบบโทรออกอัตโนมัติ หรือ Predictive dialer จะช่วยจัดการรายชื่อลูกค้าสำหรับโทรออกแบบอัตโนมัติ และระบบจะเช็คสถานะความพร้อมของพนักงานและโทรออกเมื่อพนักงานพร้อมให้บริการ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ลดเวลาการรอสายของลูกค้า และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า
  • การวิเคราะห์เสียงและความรู้สึก: ลูกค้าส่วนใหญ่เมื่อใช้สินค้าและบริการ ต่างคาดหวังการที่จะได้รับบริการแบบเฉพาะบุคคล การใช้เครื่องมือวิเคราะห์เสียงและความรู้สึกของลูกค้าจะถูกใช้มากขึ้น เพื่อเข้าใจความต้องการที่เฉพาะตัวและตอบสนองความรู้สึกที่พิเศษของลูกค้า เป็นการรักษาลูกค้าให้อยู่ไปนานๆ
  • การใช้ Gen AI อย่างแพร่หลาย: Generative AI จะมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ โดย Gen AI ที่มีส่วนสำคัญในศูนย์คอนแทคเซ็นเตอร์ ได้แก่
    • AI Virtual Agent: พนักงานรับสายแบบ AI ใช้ในการโต้ตอบกับลูกค้าทางโทรศัพท์และแชท สามารถดึงข้อมูลจากฐานองค์ความรู้และข้อมูลลูกค้าระบบ CRM มาสนทนากับลูกค้า ช่วยลดเวลาในการรอคอยของลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
    • AI Agent Assistant: เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการดึงข้อมูลประวัติลูกค้าและองค์ความรู้ต่างๆ มาเตรียมให้พนักงานโต้ตอบกับลูกค้า รวมถึงแนะนำบทสนทนา ช่วยปรับปรุงการสนทนาของพนักงานให้ตอบสนองได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดระยะเวลาเฉลี่ยที่พนักงานสนทนากับลูกค้า (Average Handle Time: AHT) และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า เครื่องมือ AI Agent Assistant สามารถช่วยให้พนักงานใหม่ที่มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงานน้อย ทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
    • AI Call summarize: การสรุปการโทรแบบอัตโนมัติ ช่วยลดเวลาในการบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่ (Wrap-up Time) ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลอีกด้วย

สรุป

การนำกลยุทธ์ Omnichannel มาใช้ในศูนย์คอนแทคเซ็นเตอร์ ไม่ใช่เพียงแค่การให้บริการลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆเท่านั้น ยังเป็นการผสานการทำงานของระบบต่างๆ ในศูนย์ให้ทำงานสอดรับเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อการให้บริการที่สอดคล้องและราบรื่นสำหรับลูกค้า การลงทุนในระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ และมีเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล จะช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะตัวที่หลากหลายของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความภักดี รักษาลูกค้า ตลอดจนเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า

แหล่งที่มา:

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกเปิดหรือปิดคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ตรงใจคุณที่สุด ยกเว้นคุกกี้ที่จำเป็น ซึ่งช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างราบรื่น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นและเข้าชมเว็บไซต์ได้ตามปกติ คุกกี้เหล่านี้ไม่สามารถปิดการทำงานได้ เนื่องจากเป็นหัวใจหลักในการทำให้ระบบของเว็บไซต์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน

    คุกกี้เหล่านี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ เช่น จำนวนผู้เข้าชม, หน้าเว็บที่ได้รับความนิยม และพฤติกรรมการท่องเว็บ ซึ่งช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ได้

บันทึก